ครูกัลยา เปิดการแข่งขันหุ่นยนต์ Thailand International Robot League 2022 ที่ รร.เบญจมราชรังสฤษฎ์ จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันหุ่นยนต์ในรายการ Thailand International Robot League 2022 โดยมีนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา, นายวรณัฐ หมีทอง ประธานชมรมครูหุ่นยนต์ไทย, นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎ์ บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน เข้าร่วม
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันหุ่นยนต์ในรายการ Thailand International Robot League 2022 ในวันนี้ และขอแสดงความชื่นชมที่ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย โรงเรียนหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ และชมรมเด็กรักหุ่นยนต์ฉะเชิงเทรา ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ จัด กิจกรรมนี้ขึ้นซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และพัฒนาคนรุ่นใหม่ ให้มรความพร้อมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ในการขับเคลื่อน พัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อันจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ
รัฐบาลได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมี เป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่สำคัญ ของอาเซียน มุ่งเน้นการผลิตหุ่นยนต์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และการแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของ ประเทศให้สามารถยกระดับคุณภาพบนฐานเทคโนโลยีสมัยใหม่
รายงาน World Robotics Report 2022 ของสหพันธ์หุ่นยนต์ นานาชาติ (International Federation of Robotics) ระบุ แนวโน้ม ความต้องการหุ่นยนต์ของไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอุปสงค์ ต่อหุ่นยนต์อุตสาหกรรมของไทย ในปี 2565 มีอยู่ที่กว่า 3,900 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 จากปีก่อนหน้า เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน (สูงกว่า สิงคโปร์) และเป็นอันดับ 12 ของโลก
นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังมีศักยภาพในการใช้งานเพื่อยกระดับภาค บริการด้วย เช่น การแพทย์ ขนส่ง/โลจิสติกส์ เป็นต้น โดย “หุ่นยนต์บริการ” (Al Service Robots) มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในตลาดทั่วโลก ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์โรคโควิด-19 และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ของหลายประเทศทั่วโลก สหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติคาดการณ์ว่า ตลาด หุ่นยนต์บริการทั่วโลกจะมีมูลค่าเกิน 2.21 ล้านล้านบาท หรือ 6 หมื่น ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2024
สถาบันการศึกษา จึงเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเป็น ต้นทางในการผลิตกำลังคนด้านหุ่นยนต์ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ กับผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้พัฒนาโปรแกรม ผู้ผลิตหุ่นยนต์ และผู้ผลิตสินค้า อุตสาหกรรม เพื่อพัฒนารวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ รองรับการพัฒนาระบบการผลิตให้มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และ สอดคล้องกับห่วงโซ่อุปทานในตลาดโลก
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎ์ ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย ชมรมเด็กรักหุ่นยนต์ฉะเชิงเทรา ชมรมวิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย บริษัท M Republic Event และทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ดิฉันมั่นใจว่า กิจกรรมในวันนี้ จะมี ส่วนช่วยพัฒนาเยาวชน ให้เป็นผู้ที่สนใจแก้ไขปัญหา ทำงานเป็นทีม และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสากล เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์รุ่นใหม่ของประเทศ รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต