ครูกัลยา MOU หน่วยงานภาคีเครือข่าย และมอบนโยบายแก่ผู้บริหารและครู “โรงเรียนในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ”
เมื่อวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2565 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือหน่วยงานภาคีเครือข่ายและมอบนโยบาย แก่ผู้บริหารและครูโรงเรียนในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลช กรุงเทพมหานคร
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นับแต่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เพื่อพัฒนาส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนและสร้างโอกาสทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับผู้เรียนในทุกพื้นที่ โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกัน ขับเคลื่อนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบในทุกมิติ
ช่วงปี พ.ศ. 2564 2565 ที่ผ่านมา ทั้ง 6 หน่วยงาน ได้มีการร่วมแรงร่วมใจร่วมกำลังสติปัญญาในการด้าเนินการขับเคลื่อนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา สพฐ. ร่วมกับ สสวท. สวทช. และ ทปอ.มรภ. ในการขับเคลื่อนงานทั้งในส่วนของการพัฒนาผู้บริหารการพัฒนาวิทยากรแกนนำ และการพัฒนาครู ด้วยการจัดทำหลักสูตรและออกแบบ การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบจนสำเร็จอย่างดียิ่ง สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สพฐ. ร่วมกับ สสวท. และ ทปอ. ได้ดำเนินการอบรมวิทยากรแกนนำ และครูโรงเรียนแม่ข่ายในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนมาแนวทางขอโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบครอบคลุมทุกสมรรถนะทั้งทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ครอบคลุมทุกแม่ข่ายทั้ง 10 แม่ข่าย ในส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. ร่วมกับ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ อบรมพัฒนาครูโรงเรียนแม่ข่ายในการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
คอมพิวเตอร์ – วิทยาการคำานวณศาสตร์ ดาราศาสตร์ -วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ และคณิตศาสตร์ ซึ่ง เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและขอบคุณของภาคีเครือข่ายทั้ง 6 หน่วยงาน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการวิทยาศาสตร์ พลังสิบไปสู่เป้าหมายของโครงการได้เป็นอย่างดียิ่ง ถึงแม้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีข้อจํากัดหลายประการ แต่ด้วยความร่วมแรงร่วมใจและเห็นความสำคัญของโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบที่จะเป็นจุดเปลี่ยน ในการจัดการศึกษาพร้อมวางรากฐานการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วยการปฏิบัติจริง เชื่อมโยงกับ ชีวิตประจำวัน จึงทำให้เกิดความสำเร็จและคุณูประการที่ได้ส่งต่อไปยังโรงเรียนแม่ข่าย และโรงเรียนศูนย์ ทุกแห่งที่มาร่วมกันวันนี้ ในการขับเคลื่อนไปสู่ห้องเรียนจนถึงตัวนักเรียนต่อไป
การลงนาม MOU ความร่วมมือของทั้ง 5 หน่วยงาน ในวันนี้เป็นอีกประจักษ์พยานหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนโครงการไปสู่ความสำเร็จตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ในระยะต่อไป ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในปี 2571 อันจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาครู ในระบบการศึกษาปีละกว่า 10,000 คน
ที่สามารถจัดการเรียนการสอนตามแนวทางโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบไปถึงตัวนักเรียนกว่า 100,000 คน / ปี / ระดับชั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
ในการ สร้างคนให้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีกระบวนการคิดเชิงระบบ คิดแก้ปัญหา เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้สู่สมรรถนะใหม่
ด้วยวิทยาศาสตร์ใกล้ตัว ในการสร้างมูลค่าให้ตัวเอง เศรษฐกิจและครอบครัว
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยต่อไปในอนาคต ขอให้ทุกท่าน ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนศูนย์และโรงเรียนแม่ข่ายทั้งระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้ง 191 แห่ง ที่มาร่วมกันในวันนี้จะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทภาระกิจหน้าที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้สู่นักเรียนอย่างแท้จริง ขอให้การดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ สำเร็จจามวัตถุประสงค์เป้าหมายทุกประการ