คุณหญิงกัลยา หนุน “โครงการเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเพื่ออุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ KMITL” คาด Upskills หรือ Reskill คนไทย เพื่อดำรงชีวิตในยุค VUCA World ได้อย่างมีคุณภาพ

เมื่อวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2565 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเพื่ออุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของวิทยาลัย นวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ณ วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวขอบคุณท่านผู้บริหารและวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ได้มีความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้
กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาที่พัฒนาทักษะอาชีพ อันเนื่องมาจากนโยบายการ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าด้วยนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ และคนไทยซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ในการขับเคลื่อน การพัฒนานี้ จะต้องได้รับการพัฒนาโดยการ Upskills หรือ Reskill โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยจะต้องพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตในยุค VUCA World คนไทยและคนทั้งโลกจะต้องปรับตัวรับกับการปรับเปลี่ยน ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และเป็นพลเมือง
สำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จัดอยู่ในอุตสาหกรรม กลุ่ม New S curve คือ กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งถือว่ามีความสามารถในการเติบโตต่อไปในอนาคต และช่วยกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ
ดังนั้นทุกประเทศและประเทศไทยจึงต้องมีการพัฒนาเสริมสร้างความ แข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ กิจกรรมในวันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่จะส่งเสริมการพัฒนากำลังคนทางด้านอาชีวะที่สำคัญที่จะสนับสนุนการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม เพราะ นอกจากความมุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานที่มีความเชียวชาญขั้นสูงด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์แล้ว การพัฒนาครูอาชีวะให้มีความพร้อมในการสอนก็เป็นสิ่งจำเป็นในการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาที่สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานของภาคอุตสาหกรรม
ท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดการอบรมในวันนี้ โดยเฉพาะยิ่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นการเติบโตยิ่งขึ้นไป ของการพัฒนาบุคลากรทางอาชีวศึกษาต่อภาคอุตสาหกรรม
นวรัตน์​ ราม​สูต​: เรียบเรียง
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว​: สรุป
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
[Sassy_Social_Share]