“รมว.ตรีนุช” มอบนโยบาย ผอ.เขตพื้นที่ทั่วประเทศ ย้ำเป็นกำลังสำคัญช่วยขับเคลื่อนการศึกษาระดับภูมิภาค
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่ากรกกระทวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวในการเป็นประธานการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ โดยมี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) รองเลขาธิการ กพฐ. และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ ว่า ผู้อำนวยการ สพท. ถือเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภูมิภาค เพราะทำงานให้ชิดกับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูมากที่สุด จึงถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการช่วยส่งต่อนโยบายด้านการศึกษาสู่การขับเคลื่อนในสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อดูแลจัดการศึกษาให้กับเยาวชนที่เป็นอนาคตของประเทศ ได้ตามความคาดหวังของสังคม และทราบดีว่า ทุกคนต้องทำงานภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ต้องบริหารการศึกษาและบริหารงานบุคคลไปพร้อม ๆ กัน แต่จะทำอย่างไรเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนในยุค VUCA World ให้ได้มากที่สุด
“ในวันนี้เราทุกคนไม่ได้สอนหนังสือและบ่มเพาะผู้เรียนเท่านั้น แต่เรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ก็ถือเป็นสำคัญที่เราต้องดูแลเช่นกัน เพราะปัจจุบันภัยสังคมโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด เริ่มเข้ามาหาเด็กที่เป็นกลุ่มเปราะบางแล้ว จึงขอฝากผู้อำนวยการ สพท. ช่วยกำกับติดตามและเข้าไปดูแลโรงเรียน ตลอดจนรวบรมข้อมูลในเขตพื้นที่ที่ดูแลรับผิดชอบ ว่า มีโรงเรียนที่มีความพร้อมกี่แห่ง มีโรงเรียนต้องการความช่วยเหลือเท่าไร เพื่อให้รู้ข้อมูลความต้องการของลูก ๆ ในมือของเรา ที่จะทำให้เขตพื้นที่การศึกษาสามารถดูแลโรงเรียนได้ดียิ่งขึ้น และขอให้เขตพื้นที่การศึกษา มีส่วนช่วยสร้างโอกาส สร้างความสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยขับเคลื่อนโครงการพาน้องกลับมาเรียน ช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้ได้รับการศึกษา และฝึกอาชีพระยะสั้น พร้อมกับติดตามตรวจสอบเพื่อป้องกันเด็กหลุดจากระบบการศึกษาอีก รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการ 1 ครูอนามัย 1โรงเรียน ตามเป้าหมายของ ศธ.ให้นักเรียน 1 ล้านคน สามารถทำ CPR ได้ ส่วนการเรียนแบบ Active Leaning และการเรียนประวัติศาสตร์ด้วย ขอให้ช่วยกันขับเคลื่อนต่อไป โดยวางเป้าหมายว่า พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ได้ เข้าใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และนำมาพัฒนาซอฟต์ พาวเวอร์ ของตนเองได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงมาตรกรควบคุมกำลังคนในส่วนของข้าราชกรครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชกครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก..ศ. สามารถบริหารอัตรากำลังในโรงเรียนที่มีครูเกินเกณฑ์ มากำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ที่มีจำนวนนักเรียน 61-119 คน เพราะที่ผ่านมา ศธ.ตระหนักและทราบถึงปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียน 61-119 คน) ไม่มีผู้บริหารโรงเรียนจำนวนมาก ซึ่งอยู่ระหว่าง ศธ.เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ครูและผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และไม่ให้นักเรียนเสียโอกาสทางการศึกษา” รมว.ศธ.กล่าว
รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านม นักเรียนได้เข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ไปแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา ศ6. ประกาศยกเลิกการใช้ผลสอบโอเน็ตในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษา จึงขอย้ำให้สร้างการรับรู้แก่ผู้บริหารและครูด้วย ว่า จะไม่นำผลสอบโอเน็ตมาเป็นเกณฑ์พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ขอให้ใช้ผลสอบโอเน็ตในการวัดระดับความรู้ของนักเรียน ใช้สำหรับวิเคราะห์และจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ความรู้แก่นักเรียนเพิ่มเติม รวมทั้งให้ติดตามการใช้งบประมาณของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีความโปร่งใส ทั้งเงินอุดหนุนรายหัวแบบขั้นบันได และเพิ่มเงินอุดหนุนอาหารกลางวันตามขนาดของโรงเรียน นักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณภาพ พร้อม ๆ กับการสร้างความเชื่อมั่นในระบบการบริหารงานบุคคล เพื่อให้สังคมมีความเชื่อมั่น ส่วนครูเองก็มีขวัญกำลังใจในการทำงาน สามารถพัฒนาเด็กได้ต่อไป
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
ฤทธิเกียรติ์ ยศประสงค์: ถ่ายภาพ
สุวิชา บุญญานุพงศ์: กราฟฟิก
ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
24/2/2566