“ตรีนุช” ปรับมาตรการโรงเรียน หลังประกาศโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับกระทรวงศึกษาธิการทั่วประเทศ ตามประกาศยกเลิกมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และประกาศหลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมี นายอรรถพล สังขวาสี รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายพีระศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาชน นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และนายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมการแถลงข่าว ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
นางสาวตรีนุช เทียนทอง กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มคลี่คลายลง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศยกเลิกโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้มีมติยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงได้ยกเลิกประกาศ จำนวน 3 ฉบับ เพื่อให้สอดรับกัน ได้แก่ ประกาศ ศธ. เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ ศธ. ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 และประกาศ ศธ. เรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 3 มกราคม 2565 รวมทั้งยกเลิกประกาศ ศธ. เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 และยังคงให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด ศธ. ทุกแห่ง ปฏิบัติตามแนวทางของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดต่อไป
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีแนวโน้มคลี่คลายลง แต่สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มและทำกิจกรรมที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการ รวมถึงศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดี จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ ยึดหลักความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นสำคัญ เพื่อให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความอุ่นใจในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องปรับแนวปฏิบัติให้สอดรับกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เช่น แนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัยกรณีเข้าไปในสถานที่ที่แออัดหรือเป็นพื้นที่ปิด จัดสภาวะแวดล้อมของสถานศึกษาให้ถูกสุขลักษณะ และหากมีการติดเชื้อในสถานศึกษาให้จัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมโดยไม่ปิดเรียน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะเน้นการพัฒนาระบบและทักษะให้นักเรียนและครูสามารถดูแลตนเองได้ โดยใช้โครงการ 1 โรงเรียน 1 ครูอนามัย สร้างเด็กไทยรอบรู้สุขภาพ ซึ่งจะเน้นทักษะในการคัดกรองดูแลสุขภาพเบื้องต้นตนเองได้ เช่น ความเสี่ยงการติดโรคระบาด การกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานได้ (Basic Life Support) รวมถึงด้านสุขภาพจิตใจ มีระบบการคัดกรอง เฝ้าระวัง การส่งต่อ ด้านความเครีย